มุมมองผู้บริหาร “โซเด็กซ์โซ่” ในการนำธุรกิจ-พนักงานรอดจากโควิด-19 - Forbes Thailand

มุมมองผู้บริหาร “โซเด็กซ์โซ่” ในการนำธุรกิจ-พนักงานรอดจากโควิด-19

ในฐานะที่ผมได้ร่วมทำงานกับโซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย และพำนักอยู่ในประเทศไทยมากว่า 26 ปี ทำให้ผมได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทย และสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดีในทางกลับกันผมได้นำค่านิยมของบริษัทที่เปิดดำเนินการอยู่ใน 55 ประเทศทั่วโลกมาใช้กับประเทศไทยด้วยเช่นกัน


    ค่านิยมที่ว่านั่นคือ การให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของพนักงานเป็นอันดับ 1 รองมาคือ การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย 100% การให้ความสำคัญในด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน รวมทั้งด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความสมดุลระหว่างผลประกอบการและความสุขของพนักงาน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะมีความผันผวนสูงก็ตาม

    โควิด-19 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจและกรอบความคิดของคนกลุ่มใหญ่ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ คนส่วนมากไม่อยากกลับไปทำงานในบริษัทอีกแล้ว เพราะพวกเขาสามารถทำงานออนไลน์ได้ทุกที่หากมีคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาที่ต้องการทำธุรกิจหรือลงทุนด้วยตนเอง เช่น ลงทุนซื้อบิตคอยน์ เทรดคริปโตและหุ้น หรือทำธุรกิจออนไลน์ แต่ผมคิดว่าในชีวิตและความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น

    ธุรกิจบางอย่าง เช่น งานบริการหรือโรงงานผลิตสินค้ายังต้องอาศัยพนักงานประจำสถานที่ทำงาน ไม่เช่นนั้นธุรกิจอาจจะไปไม่รอด เพราะในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนที่สมัครงานก็มีน้อยลง คุณสมบัติไม่ตรงกับมาตรฐานที่เราต้องการ และยิ่งสถานการณ์สงครามที่ยูเครนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแรงกดดันของค่าแรงและค่าวัตถุดิบซึ่งส่งผลกระทบมากที่สุดในช่วงเวลานี้

    สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในแต่ละประเทศ ตามมาด้วยการจัดการเรื่องซัพพลายเชนไม่ว่าจะเป็นไมโครชิปหรืออาหาร ซึ่งแต่ละประเทศก็เริ่มเป็นห่วงด้านความเป็นอิสระที่ต้องสั่งซื้อจากรัสเซีย จีน หรือจากประเทศอื่น เพราะฉะนั้นแนวโน้มของแต่ละบริษัทและแต่ละประเทศเริ่มมองหาว่า เดิมเรามี business model ว่าที่ไหนในโลกมีซัพพลายเชนราคาถูก เราจะสั่งซื้อจากที่นั่น แต่ตอนนี้ได้มองเห็นใน 2 ประเด็นคือ ความเป็นอิสระและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ปัจจุบันเปลี่ยนจาก global supply chain มาเป็น domestic supply chain มากขึ้น

    สำหรับเทรนด์ใหม่ของบริษัทนั้น เราได้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส จากที่มีคนมาสมัครงานน้อยลง ต้องการเงินเดือนสูงขึ้น แต่คุณภาพหรือฝีมือไม่ตรงกับมาตรฐาน เราจึงปรับ business model ให้เป็น flexible model ด้วยการพยายามใช้คนน้อยลง แต่นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทแทนมากขึ้น และต้องทำให้ลูกค้สมีควสมเข้สใจในวิธีของโซเด็กซ์โซ

    ด้วยการปรับความคิดในการใช้ TOR ในการระบุด้านจำนวนคนมาเป็นการใช้ KPI วัดแทนว่า ลูกค้าต้องการอะไรบ้าง ตามแนวคิดของ flexible model ด้วยการปรับราคาตามปริมาณกิจกรรมของลูกค้าลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การเข้าพักในโรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน รวมทั้งช่วงปิดโรงเรียนและโรงงาน เพราะจะช่วยลูกค้าลดต้นทุนอย่างแท้จริง และช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

Arnaud Bialecki

ประธานบริหาร โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย


อ่านเพิ่มเติม:

>> ส่อง ETF ธีม EV-พลังงานสะอาดจีนฟื้นตัวแรง ถึงเวลาลงทุนหรือยัง?

>> เอกราช พรรณสังข์ AAI รุกอาหารสัตว์เกรดพรีเมียม


คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกันยายน 2565 ในรูปแบบ e-magazine

TAGGED ON