ปนายุ ศิริกระจ่างศรี TBN ลัดเทรนด์ทรานส์ฟอร์มดิจิทัล - Forbes Thailand

ปนายุ ศิริกระจ่างศรี TBN ลัดเทรนด์ทรานส์ฟอร์มดิจิทัล

FORBES THAILAND / ADMIN
24 Aug 2023 | 11:00 AM
READ 1972

เบื้องหลังการพัฒนาระบบและแอปพลิเคชันของธุรกิจไทยและบริษัทข้ามชาติกว่า 15 ปี ด้วยเทคโนโลยี Low-Code รายแรกในเอเชียที่ได้รับลิขสิทธิ์จาก Siemens รายเดียวในประเทศ และเพิ่มทางเลือก High-Code เติมเต็มดีมานด์ครบวงจร พร้อมระดมทุนรับโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน


    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของผู้บริโภคและการลงทุนด้านเทคโนโลยีทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา Gartner ได้คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกไว้ราว 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้น 5.1% จากปี 2564 เนื่องจากการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กรให้เข้ากับยุคการทำงานในปัจจุบันทำให้ชอฟต์แวร์ระดับองค์กรเป็นค่าใช้จ่ายไอทีที่มีการเติบโตสูงสุดที่ 11.9% ในปี 2566

    ขณะที่สภาวะตลาดของชอฟต์แวร์สำหรับองค์กรในประเทศไทยมีทิศทางการเติบโตสอดคล้องกับตลาดชอฟต์แวร์โลก โดยมีนโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นแรงขับเคลื่อนหลักและการสนับสนุนของภาครัฐในนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการใข้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่ง Gartner คาดการณ์ค่าใช้จ่ายด้านไอทีของไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 6.4% เป็น 8.7 แสนล้านบาทในปี 2565 นำโดยกลุ่มชอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 14.73% ระหว่างปี 2563-2565

    "โอกาสจาก digital transformation ในประเทศยังมีอีกมาก จากเดิมที่มีเพียงไม่กี่บริษัทในอุตสาหกรรมหลัก และบุคลากรด้านไอทีในไทยหายากมากซึ่งสวนทางกับความต้องการในตลาดที่สูงมาก ดังนั้น การใช้ low-code technology จึงเป็นทางเลือกให้เกิด productive ได้มากขึ้นนอกจากการใข้ high code ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพเหมือนการพัฒนาเว็บไซต์ในอดีตที่เป็น HTML แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จต่างๆ เช่น WordPress ที่ง่ายขึ้น โดย low-code เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เทคโนโลยีพัฒนาชอฟต์แวร์ง่ายขึ้น เขียนโปรแกรมน้อยลง ทำให้การพัฒนาชอฟต์แวร์เรียนรู้ง่ายขึ้น พัฒนาง่ายขึ้น คุณภาพมากขึ้น และช่วยให้ ธุรกิจสามารถ time to market ดีขึ้น"

    ปนายุ ศิริกระจ่างศรี ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท ที่บีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN กล่าวถึงการตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยหลังใช้ชีวิตในเนเธอร์แลนด์เป็นเว ลากว่า 17 ปี ด้วยความมั่นใจในความรู้ Computer Science ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย Hogeschool Rotterdam และปริญญาโท ICT & Economic มหาวิทยาลัย Erasmus University

    Rotterdam รวมทั้งการทำงานเบินหนึ่งในทีมนักพัฒนายุคเริ่มต้นของบริษัทสตาร์ทอัพ MENDIX ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งพัฒนา low-code เป็นรายแรกๆ ของโลก เพื่อตอบสนองเทรนด์การเติบโตของชอฟต์แวร์และโปรแกรมเมอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด ทำให้ต้องมีเครื่องมือช่วยพัฒนาชอฟต์แวร์ให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

    "เราเติบโตในยุคดอทคอมและสนุกกับการท่องโลกอินเทอร์เน็ต เราชอบสายไอทีและมองดิจิทัลเป็นโลกอนาคต ทำให้เลือกเรียนด้านนี้และเรียนต่อปริญญาโทคณะเปิดใหม่ที่รวมเรื่องเทคโนโลยี เศรษรูศาสตร์ และธุรกิจด้วยกัน ซึ่งมีเรื่อง A! ด้วย จนเรียนจบ มีโอกาสร่วมงานกับ MENDIX ซึ่งผู้ก่อตั้งเป็นเพื่อนที่เรียนด้วยกันตั้งแต่ปริญญาตรี ปริญญาโท โดยเมื่อ 20 ปีที่แล้วเราเห็นว่า เป็นสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ หลังจากพัฒนาเทคโนโลยีเป็นรูปเป็นร่างแล้วเรากลับมาเที่ยวเมืองไทย 1 เดือน และลองดูโอกาสทำธุรกิจในไทย ทั้งสัมภาษณ์กลุ่มและหาข้อมูลจากชอฟต์แวร์ปาร์คจนพบว่า จำนวนบริษัทไอทีสมัยนั้นยังมีไม่มากและการให้บริการยังเป็นรูปแบบเดิม ๆ ทำให้เรามั่นใจในข้อได้เปรียบและเทรนด์การเติบโตของไทยจะเหมือนกับอเมริกาหรือยุโรปที่ MENDIX เปิดตลาดแล้ว"

    

บุกเบิกแพลตฟอร์ม Low-Code

    

    ในยุคที่การพัฒนาชอฟต์แวร์ยังใช้ high-code เป็นหลัก แต่ปนายเชื่อมั่นในข้อดีของ low-code ซึ่งเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ และเป็นเครื่องมือช่วยให้องค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่มีการ รแข่งขันสูงและต้องการความรวดเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคซันได้มากกว่า high-code ที่เป็นวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการพัฒนาระบบต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์เขียน source code ใหม่ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าทำให้ใช้เวลานาน และการดูแลบำรุงรักษาระบบหลังการใช้งานทำได้ยาก เมื่อเปรียบเทียบกับ low-code ที่ช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชันเร็วกว่าเดิม 6-10 เท่าและมีระบบ Artficial Intelligence (AI) ช่วยเตือนข้อผิดพลาด พร้อมแนะนำขั้นตอนพัฒนาระบบและไม่ต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์จำนวนมาก

    ดังนั้น ปนายุจึงมั่นใจในการจับมือกับ 3 ผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เล็งเห็นโอกาส low-code ในประเทศไทย ได้แก่ ดร.นริศรา ลิ้มธนากุล นั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและ ธิปัตย์ สุนทรารชุน ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน ร่วมด้วย ดร.เทอดพงษ์ หงษ์หิรัญเรือง เริ่มต้นบริษัทให้บริการออกแบบและพัฒนาระบบดิจิทัลครบวงจร รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมขันและพัฒนาโซลูซันตามความต้องการของลูกค้า โดยใช้ซอฟต์แวร์ Low-Code Development Platform (IDCP) ของ MENDIX เป็นหลัก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก Siemens ให้เป็นตัวแทนจำหน่าย (MENDIX Reseller Partner)รายแรกและรายเดียวในประเทศตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน

    "เราโชคดีที่ได้ผู้ร่วมก่อตั้งที่ดีมากและเก่งในแต่ละด้านร่วมตัวกันเริ่มต้นธุรกิจจากศูนย์ ในยุคที่เทคโนโลยีค่อนข้างใหม่และเงินทุนเรามีไม่มากทำให้ต้องทำเองทุกอย่าง ไม่เฉพาะการบริหาร แต่ต้องขายของสอบถามความต้องการลูกค้า พัฒนาระบบดูแลทีมงาน ทำให้มั่นใจว่าเขาสามารถทำงานได้ และลูกค้าก็มั่นใจ เพราะเราอยู่ในทุกโครงการเสมอ โดยเราใช้เวลาพิสูจน์ตัวเอง 4-5 ปีกว่าจะได้รับโอกาสเข้าไปทำในสถาบันการเงินแรก ซึ่งตลอด 15 ปีที่ผ่านมาถึงในนี้เราไม่เคย fal ในการส่งมอบโปรเจ็กต์ให้ลูกค้า success rate 100% และให้บริการเต็มที่กับลูกค้าทุกงาน โดยสิ่งที่เราย้ำกับทีมงานตั้งแต่เริ่มต้นบริษัทคือ เราเชื่อว่าเราไม่ได้เก่งที่สุด ไม่ได้มีเงินทุนหรือพร้อมที่สุด แต่เราพยายามพัฒนาตัวเองสม่ำเสมอทุกวัน และ mindset ความมีวินัยเสมอต้นเสมอปลายเป็นเรื่องสำคัญมาก"

    ปนายุกล่าวถึงพัฒนาการบริษัทสำคัญหลังจากเริ่มพัฒนาระบบให้กลุ่มลูกค้าองค์กรในภาคการเงินและประกันภัย ซึ่งเป็นลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัยโดยเป็นฐานลูกค้าหลักของบริษัทตั้งแต่ปี 2556 และสามารถขยายการบริการไปยังกลุ่มภาคค้าปลีกและโทรคมนาคม กลุ่มภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับการเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้นจากการเข้าลงทุนของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ประมาณ 25% ผ่านการถือหุ้น Rocket Holdings HK Limited ในปี 2564

    นอกจากนั้น บริษัทยังได้เข้าร่วมโครงการสำคัญขนาดใหญ่ของสถาบันการเงิน เช่น โครงการพัฒนา New Core System โครงการพัฒนา Mobile Application โครงการพัฒนาระบบซื้อขายรถมือสอง รวมถึงริเริ่มโครงการ TBN MENDIX Academy เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรภายในและภายนอก พร้อมสร้างให้ MENDIX เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ  เพื่อสร้างบุคลากรและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์

    "BTS สนใจลงทุนบริษัทเทคจึงเข้ามาร่วมกับเราในช่วงปลายปี 2565 และช่วยให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์และการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยความคาดหวังให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งภาพรวมการเติบโต 4 ปีย้อนหลังของเราสามารถทำยอดขายต่อปีทบต้นประมาณ 40% ทุกปี และมีฐานลูกค้าบริษัทใน SET100 ประมาณ 60 - 70 ราย เมื่อเทียบกับตลาด Enterprise ในประเทศที่มีขนาดใหญ่ ทำให้เรายังขยายได้อีกมาก และเทรนด์ digital transformation ที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเราเห็นความต้องการในกลุ่มธนาคารและประกันจากกลุ่มลูกค้าของเราช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นกลุ่มประกันจำนวนมาก ตามด้วยกลุ่ม retail และกลุ่ม manufacturing ซึ่ง Siemens ถือเป็นบริษัทใหญ่ top 3 ของเยอรมันที่แข็งแรงมากในกลุ่มนี้ และเราเป็น MENDIX Expert ในเอเชียแปซิฟิก ทำให้เรามีโอกาสไปควบคู่กับ Siemens และปิดการขายในกลุ่ม manufacturing ใหญ่ๆ ได้"

    

ยกระดับดิจิทัลโซลูซันครบวงจร

    

    ภายใต้ความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการขับเคลื่อนธุรกิจพัฒนาและให้บริการด้านดิจิทัลโซลูซันแบบครบวงจรด้วย low-code และ Al-driven รวมถึงสร้างดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อยกระดับธุรกิจคู่ค้าให้ไปสู่ระดับภูมิภาค ปนายุเดินหน้าขยายการให้บริการครอบคลุมความต้องการรอบด้าน ทั้งงานพัฒนาระบบและงานบริการเกี่ยวเนื่อง ได้แก่ งานพัฒนาระบบดิจิทัล งานสนับสนุนและบำรุงรักษาระบบ งานให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชอฟต์แวร์ต่อยอดจากการพัฒนา และติดตั้งระบบของลูกค้า

    ขณะเดียวกันบริษัทยังให้บริการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ได้แก่ การให้ใช้สิทธิโปรแกรม MENDIX เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น รวดเร็ว และตรงตามความต้องการใช้งาน โดยบริษัทสามารถสร้างรายได้ต่อเนื่อง (recurring income) จากทีมนักพัฒนาในองค์กรที่มีความรู้ความสามารถสนับสนุนด้าน เทคนิคให้ลูกค้าตลอดอายุสัญญา รวมทั้งการให้บริการคลาวด์ (cloud services) ด้วยการให้เช่าพื้นที่บนคลาวด์จากผู้ให้บริการ Amazon Web Services, MENDIX Cloud, บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด เป็นต้น

    "โครงสร้างรายได้ของเราแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ digital solution services และกลุ่ม technology enabler โดย digital solution services มี3 ส่วนคือ การให้บริการรับจ้างพัฒนาโชลูซันหรือ implement เช่น ลูกค้าต้องการระบบบริหารจัดการเอกสารภายในองค์กร ส่วนที่ 2 เป็นการ maintenance สร้างรายได้ต่อเนื่องจากการจ่ายรายปีเหมือนการซื้อประกัน ส่วนที่ 3 เป็น technical consultant กรณีที่ลูกค้าต้องการพัฒนาเองใดยใช้ MENDIX ก็สามารถซื้อเป็นแพ็กเกจ consulting ขณะที่กลุ่ม technology enabler ให้บริการลูกค้าที่ต้องการ digital transformation เช่น บริษัทต้องการทรานส์ฟอร์มเป็นดี้จิทัลโดยมีทีมอยู่แล้วและซื้อ MENDIX license เป็น subscription จ่ายรายปี เราก็เข้าไปเทรนนิ่งให้ หรือถ้าต้องการ cloud เราก็มีบริการให้ ดังนั้น รายได้ต่อเนื่องทุกปีของเราประมาณ 51% มาจากMENDIX license, cloud, maintenance"

    นอกจากนั้น ปนายุยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลายรูปแบบและครบวงจร ด้วยการจัดตั้ง บริษัท บ๊อพ จำกัด ในปี 2562 เพื่อให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิม หรือ high-code สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการพัฒนาระบบดิจิทัลที่มีความชับช้อนมากขึ้น ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาชอฟด์แวร์ และแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่มีการใช้งานสูงที่สุดในปัจจุบัน โดยเหมาะกับการปรับแต่งเพิ่มเติมให้กับชอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนามาจาก low-code เช่น การตกแต่ง user interface หรือเพิ่มลูกเล่นให้ชอฟด์แวร์ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการพัฒนาอี-คอมเมิร์ชแพลตฟอร์มช่วยให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มค้าปลึกและประกันภัย

    "High-code อาจจะใช้เวลาและใช้คนพัฒนามากกว่า low-code รวมถึงค่าใช้จ่ายบางกรณี high-code อาจจะสูงกว่า low-code แต่ high-code มีความยืดหยุ่นสูงมาก เช่น กรณีที่ต้องการพัฒนาอะไรที่ specific อย่าง multimedia, mobile banking แต่ขณะเดียวกัน low-code สามารถทำแอปพลิเคชัน process automation  หรือ workflow ได้ง่ายกว่า เร็วกว่า ต้นทุนถูกกว่าแต่ข้อเสียอาจจะมีเรื่อง license ทุกปี แต่ก็ได้ value จากการอยู่บนเทคโนโลยีที่มีความ enterprise สูงสุด ซึ่งเป็นการประหยัดทางอ้อม ดังนั้น เราจะแนะนำให้ลูกค้านำโจทย์มาคุยกับเราก่อนเพื่อให้คำแนะนำที่ดีที่สุดกับลูกค้าด้านการลงทุนหรือโชลูชันที่เหมาะสม"

    ปนายุย้ำจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทรายแรกในประเทศที่สามารถนำเสนอการพัฒนาระบบทั้ง low-code และ high-code ซึ่งการพัฒนาแบบไฮบริดจะช่วยตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วและการปรับรูปแบบตามความต้องการภายใต้กรอบเวลางบประมาณ และเงื่อนไขที่ลูกค้ากำหนดรวมทั้งการเป็นบริษัทพัฒนาระบบดิจิทัลผ่าน low-code รายแรกๆ ของประเทศที่มีประสบการณ์การพัฒนากว่า 15 ปี และสามารถส่งมอบงานได้สำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

    ขณะเดียวกันบริษัทยังได้รับการแต่งตั้งจาก Siemens ให้เป็นผู้จัดจำหน่าย MENDIX license อย่างเป็นทางการในประเทศตั้งแต่ปี 2551 และได้ต่อสัญญาต่อเนื่องทุกปี ซึ่งการเป็นพันธมิตรกับ siemens ทำให้บริษัทได้รับการสนับสนุนให้ผลักดันการใช้ MENDIX แพร่หลายมากขึ้น และเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าด้านศักยภาพและความสามารถของบริษัทที่สามารถส่งมอบงานในระดับมาตรฐานสากล

    "siemens เชื่อมั่นเรามาก เพราะเราเป็นเอเขียคนเดียวในทีม MENDIX ที่กล้ามาเปิดในฝั่งเอเชียและอยู่ที่นี่นานที่สุด เราเข้าใจตลาด ลูกค้า ประสบการณ์ และมีประวัติความสำเร็จ รวมทั้งบุคลากรของเรามี certified น่าจะมากที่สุดใน SoutheastAsia และเรามีคนที่มี skill level สูงสุดคนแรกในเอเชีย ส่วนประเทศไทยเรามีจุดแข็งเรื่องเทคโนโลยี MENDIX ตลาด low-codeที่มีความ unique และยืดหยุ่นสามารถ offer ให้ลูกค้าได้ โดยเฉพาะกลุ่ม enterprise และธุรกิจการเงินที่มีความชับช้อนสูง ซึ่งเราไม่ได้บริการเฉพาะ low-code แต่ยังมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก โดยวางตัวเองเป็น digital solution provider ด้วย motto การทำงานที่ยึดมาตลอด 15 ปีคือ give before take  ลูกค้าต้อง win ก่อน เราจึง win ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ทำให้ธุรกิจของเรายั่งยืนในการทำให้ลูกค้ามั่นใจ ไว้ใจ และรักเรา"

    ดังนั้น บริษัทจึงมั่นใจเดินหน้านำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอเพื่อระดมทุนขยายการให้บริการพัฒนาแอปพลิเคชันของบริษัทและการขายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไปยังกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม เข่น อุดสาหกรรมการผลิต อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งกลุ่มลูกค้าในภูมิภาคเอเชียในการสร้างแพลตฟอร์มโซลูซันและต่อยอดการให้บริการMENDIX สำหรับสถาบันการเงิน ธนาคาร ประกันภัย และสร้างฐานลูกค้าใหม่ในกลุ่มอื่นๆ ควบคู่กับการเพิ่มยอดขายลูกค้าเก่า พร้อมทั้งขยายทีมงานรองรับโครงการงานพัฒนาระบบที่มีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตจาก การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น และการควบคุมต้นทุนการให้บริการทำให้บริษัทจัดตั้งแผนก TBN MENDIX Academy บริหารธุรกิจที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในระยะยาว

    "หลังจากธุรกิจเติบโตทำกำไรเราเริ่มคิดเกี่ยวกับทิศทางธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างความยั่งยืน ด้วยการทำให้บริษัทเป็นของทุกคนจริงๆ และการที่ลูกค้าเรามากกว่า 90% เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ เราจะทำอย่างไรให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม รวมถึงเป้าหมายของเราที่ต้องการเป็น Digital Solution Company ซึ่งมีจุดแข็งด้าน low-code ที่โดดเด่นในไทยและ Southeast Asia โดยการระดมทุนจะช่วยให้ recuming เดิบโต และเพิ่มความแข็งแรงทางการเงินให้เรา ทั้งยังสามารถปรับโครงสร้าง เพิ่มมาตรฐาน และขยายบุคลากรให้พร้อม รองรับกับจำนวนงานที่จะเข้ามาอีกมากจากความต้องการ digital transformation ในประเทศและ low-code นอกจากนั้นส่วนหนึ่งจะนำเงินลงทุนไปสร้าง ecosystem ของ MENDIX ในประเทศไทย MENDIX Academy และพัฒนาโซลูชันขยายต่อไป"

    ปนายุปิดท้ายถึงความสำคัญของทีมงานและบุคลากรของบริษัทซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของบริษัทที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยความเชี่ยวชาญและทักษะการพัฒนาและบริหารโครงการ โดยสามารถพัฒนาชอฟต์แวร์ผ่านโปรแกรมอื่นๆ นอกจาก MENDIX ได้ ทำให้ส่งมอบงานได้สำเร็จและสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าไว้วางใจในบริการและคุณภาพระดับมืออาชีพ

    "บุคลากรของเรามีความรู้และประสบการณ์จริง โดยใน TBN มีประมาณ 125 คน และบ็อพ 40-45 คน รวมประมาณ 170-175คน พนักงานเราขยันมากและมี commitment สูง ซึ่งการบริหารจัดการของเราจะมี core value เรื่อง trust เรื่อง professional และ give before  take โดยเราพยายามเน้น productivity ให้ปริมาณมาพร้อมคุณภาพ และบาลานซ์ทั้ง work และ life ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบระเบียบ การสื่อสารมีประสิทธิภาพและในฐานะชาวพุทธ empathy ความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตา การเปิดใจรับฟังเป็นเรื่องสำคัญ โดยเราพยายามทำงานใกล้ชิดกับทีมงานให้มากที่สุด ไม่มีกำแพง ถ้ามีปัญหาเราไม่ได้นั่งรอรายงาน แต่เข้าไปช่วยแก้ปัญหาอยู่กับเขา เพราะเราเคยเป็นพนักงานมาก่อนและทำงานกับเจ้านายมาหลายแบบ เราจึงพยายามเป็นผู้บริหารในอุดมคติและเรียนรู้จากพี่ๆ น้องๆ ซึ่งเรามองว่า ทัศนคติของผู้บริหารหรือผู้นำต้อง open mind เรียนรู้และฟังให้มาก"

    

    อ่านเพิ่มเติม : สมิติเวช เดินหน้านวัตกรรมสุขภาพ เปิดศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช ตรวจลึกระดับยีน มาตรฐาน Medical Grade ที่เหมาะกับคนไทย

    คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกรกฎาคม 2566 ในรูปแบบ e-magazine