คุณพร้อมสำหรับงานในอนาคตหรือยัง - Forbes Thailand

คุณพร้อมสำหรับงานในอนาคตหรือยัง

FORBES THAILAND / ADMIN
08 Nov 2018 | 10:34 AM
READ 2312
ในยุคที่หลอมรวมเทคโนโลยีไว้แนบแน่นยิ่งขึ้น องค์กรธุรกิจต่างมองหาวิธีการใหม่เพื่อเติบโตใครก็ตามที่สามารถมองเห็นอนาคตได้ก่อนคนอื่นๆ จะเป็นคนที่สามารถคาดการณ์ถึงอนาคตที่สดใสกว่า ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ช่วยที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ และสภาพแวดล้อมที่ใช้เสียงในการสั่งการให้ทุกอย่างทำงานได้อัตโนมัติ ปัจจุบัน เรายืนอยู่ที่ปากทางใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที และถึงเวลาที่ต้องทำความเข้าใจว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้โลกใบใหม่ดำเนินไปได้ด้วยดี มีความเป็นไปได้มากมายอยู่ที่ปลายขอบฟ้าซึ่งมาพร้อมความรับผิดชอบที่มากขึ้น องค์กรธุรกิจต้องดำเนินการเพื่อปฏิรูปทั้งระบบไอทีคนทำงาน และการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้อยู่เหนือการแข่งขัน เมื่อเร็วๆ นี้ Dell Technologies ได้จับมือกับสถาบันแห่งอนาคต (Institute for the Future) เพื่อคาดการณ์ถึงทศวรรษหน้าว่า เทคโนโลยีเกิดใหม่ทั้งหลาย เช่นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) จะเปลี่ยนโฉมวิถีชีวิตและการทำงานของเราอย่างไรในปี 2030 ด้วยมุมมองเชิงลึก เราได้ขยายการคาดการณ์ของ IFTF ออกไปอีกพร้อมกับทำสำรวจผู้นำธุรกิจ 3,800 รายจากทั่วโลกเพื่อประเมินการคาดการณ์ของผู้นำเหล่านี้ รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต มนุษย์ vs เครื่องจักรกล 82% ของธุรกิจที่เข้ารับการสำรวจคาดว่ามนุษย์และเครื่องจักรกลจะทำงานเป็นทีมเดียวกันภายใน 5 ปี และ 26% ขององค์กรธุรกิจกล่าวว่า พนักงานในองค์กรและเครื่องจักรกลทำงานร่วมกันแบบนี้อยู่แล้ว นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยให้เห็นว่าผู้นำธุรกิจต่างเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและการเกิดใหม่ของเทคโนโลยีอย่าง AI รวมถึงเทคโนโลยีที่หลอมรวมสภาพแวดล้อมจริงกับโลกเสมือนอย่าง AR หรือ Augmented Reality และสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือ VR (Virtual Reality) เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเร่งการปฎิวัติทางดิจิทัลเป็นไปได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือที่จริงจังยิ่งขึ้นระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลแข็งแกร่งยิ่งขึ้น เนื่องจากบรรดาบริษัทต่างๆ ใช้วิธีการที่ว่าลูกค้าต้องมาก่อน พร้อมกับนำข้อมูลเชิงลึกมาช่วยในการดำเนินงานการใช้งานแมชีนเลิร์นนิ่ง (ML) และ AI มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลลูกค้า ก็จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดการณ์และเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้นำธุรกิจมักแบ่งแยกว่าประเด็นดังกล่าวมีความหมายต่อบทบาทการทำงานของตน รวมถึงธุรกิจและโลกในภาพรวมอย่างไร ทั้งนี้ 50% ของผู้นำธุรกิจเชื่อว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยให้มีเวลามากขึ้นในขณะที่ 42% เชื่อว่าตนจะมีความพึงพอใจในงานมากขึ้นในอนาคต ด้วยการลดภาระงานบางอย่างที่ไม่ต้องการทำสนับสนุนคนทำงานเป็นครั้งแรกที่ในสถานที่ทำงานจะมีคนทำงานถึง 4 รุ่น และทุกคนต้องเตรียมรับมือกับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ “อาจมีหลายช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะที่เราเป็นผู้นำก็คือการทำให้คนทำงานได้มีส่วนร่วม รู้สึกตื่นเต้นและเปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ และการสร้างพลังและศักยภาพให้แก่ผู้คนที่มีความแตกต่างในการทำงาน นับเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ” ในฐานะของผู้นำธุรกิจ คุณจะทำอย่างไรในการเพิ่มพลังให้กับคนทำงานและช่วยให้คนเหล่านี้มีทักษะ พร้อมให้การสนับสนุนในสิ่งที่จำเป็น คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าการดำเนินการดังต่อไปนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้สำเร็จ • วางแนวทางเรื่องของการจ่ายเงินชดเชยการฝึกอบรม และการประเมินวัดผลงาน ให้สอดคล้องตามเป้าหมายด้านดิจิทัล • มอบหมายงานให้ผู้นำระดับอาวุโสเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล • ทำให้พนักงานทุกคนเห็นร่วมในการเปลี่ยนแปลง • สอนพนักงานทั้งหมดเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์และการเขียนโค้ด • ประสานความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันเสมือนเป็นทีมเดียวกัน นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ยังได้แรงสนับสนุนจากความก้าวหน้ามหาศาลในเรื่องซอฟต์แวร์ บิ๊กดาต้า และพลังในการประมวลผล ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนโฉมชีวิตผู้คน สังคมจะเข้าสู่ปฐมบทใหม่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องกล ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพและความเป็นไปได้มากขึ้นกว่าที่เคยมีมาในการทำงานในอนาคต มนุษย์จะมีบทบาทเป็น “ผู้ควบคุมดิจิทัล” โดยมีเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นส่วนขยายอีกภาคช่วยให้ควบคุมและจัดการชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น งานจะวิ่งเข้าหาผู้คน การนำเทคโนโลยีจับคู่ที่ล้ำหน้าและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจะช่วยให้องค์กรเฟ้นหาและว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถพิเศษจากทั่วโลกที่เหมาะกับงานได้ ผู้คนจะเรียนรู้กับคำว่า “ในตอนนี้” เพราะย่างก้าวของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นรวดเร็วจนก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นพร้อมกับที่ต้องอาศัยทักษะใหม่ๆ มาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นอยู่รอดได้ อนาคตแห่งการเรียนรู้ ในปี 2030 การพึ่งพาเทคโนโลยีของมนุษย์จะพัฒนาไปสู่ความร่วมมืออย่างจริงจัง อันจะนำมาซึ่งทักษะ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ความปรารถนา และกรอบความคิดของการเป็นผู้ประกอบการ ที่จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับศักยภาพของเครื่องจักรกลที่มาพร้อมความเร็ว ระบบอัตโนมัติ และประสิทธิภาพ และจะให้ผลลัพธ์ในแง่ของผลผลิตที่จะช่วยสร้างบทบาทและโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรม เมื่อถึงปี 2030 ผู้ช่วยที่เป็น AI ซึ่งทำหน้าที่ได้แบบบูรณาการและให้ความช่วยเหลือได้ตรงความต้องการเฉพาะ จะช่วยงานได้มากกว่าที่ผู้ช่วยจริงๆ ทำได้ในปัจจุบันโดยผู้ช่วยที่เป็นปัญญาประดิษฐ์นี้จะอาศัยการคาดการณ์และการดำเนินการในแบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยดูแลเราเทคโนโลยีไม่จำเป็นว่าจะเข้ามาแทนที่คนทำงาน แต่กระบวนการในการหางานจะเปลี่ยนไป การทำงานจะไม่ใช่เรื่องของสถานที่แต่จะเป็นเรื่องของงานที่ต้องทำต่อๆ ไป เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยตัวเองของเครื่องจักรกลทำให้สามารถค้นหาทักษะของแต่ละคนรวมถึงความสามารถในการแข่งขันได้ และองค์กรก็จะตามหาผู้ที่มีความสามารถพิที่โดดเด่นที่สุดสำหรับงานแต่ละงาน 85% ของงานในปี 2030 ยังไม่เกิดขึ้นฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะรู้ว่าทักษะเฉพาะด้านไหนที่จะเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามเราสามารถเน้นที่วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ โดยความสามารถในการเรียนรู้ทักษะใหม่นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อยุคของการปฏิรูปได้อย่างเหลือเชื่อ การรู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไรนั้นพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการรู้วิชาชีพเฉพาะทางใดทางหนึ่งโรงเรียนและโปรแกรมการฝึกอบรมแบบเดิมๆ แม้จะยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่แต่นักเรียนจำนวนมากกำลังหันไปหาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดกันมากขึ้น รวมถึงโปรแกรมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และบูทแคมป์ เพื่อให้ได้ทักษะใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ 49% ของคนอายุ 18-24 ปี ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้บางรูปแบบอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ด้วยทักษะทางดิจิทัล อโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน
คลิกอ่านบทความทางด้านเศรษฐกิจ ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand Magazine ฉบับ กันยายน 2561 ได้ในรูปแบบ e-Magazine