SCB Private Banking โชว์ผลงานปี 2563 สร้างผลตอบแทน 14.90% - Forbes Thailand

SCB Private Banking โชว์ผลงานปี 2563 สร้างผลตอบแทน 14.90%

SCB Private Banking ประกาศความสำเร็จด้านการให้บริการด้านการเงินการลงทุนส่วนบุคคลแก่กลุ่มลูกค้าไพรเวทแบงก์กิ้งที่มีความมั่งคั่งระดับสูง หรือ High Net Worth สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงถึง 14.90% ในช่วงเวลา 1 ปี

SCB Private Banking เผยความสำเร็จจากการผสานพลังระหว่างทีมงานเอสซีบี ไพรเวทแบงก์กิ้ง และ ทีมที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุนส่วนบุคคล Chief Investment Office (SCBS CIO Office) จาก บล. ไทยพาณิชย์ ที่ให้คำแนะนำด้านกลยุทธ์และการบริหารพอร์ตการลงทุนแก่กลุ่มลูกค้าไพรเวทแบงก์กิ้ง จนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงถึงร้อยละ 14.90 ในระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563) ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลกเผชิญความผันผวนอย่างสูงจากสาเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางธนาคารได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าในด้านกลยุทธ์การบริหารและปรับพอร์ตการลงทุน โดยในปีที่ผ่านมา (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563) พอร์ตการลงทุนประเภทความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Asset Allocation) สามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึงร้อยละ 14.90 ในระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563) โดยนับเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่ากองอื่นๆ ในการลงทุนประเภทความเสี่ยงปานกลางตามนิยามของ AIMC* โดยค่ากลางของกลุ่มดังกล่าวอยู่ที่ -1.06%** และเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนหุ้นในประเทศ(SET TRI Index) จะได้รับผลตอบแทนเพียง -5.24% โดยพอร์ตการลงทุนนี้เป็นการลงทุนแบบผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งจากบริษัทในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ และจากบริษัทพันธมิตรรายอื่นๆ ในรูปแบบของ Open Architecture โดยไทยพาณิชย์ได้ดำเนินนโยบายเรื่อง Open Architecture มาแล้วกว่า 5 ปี เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า”
ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์
ด้าน ศรชัย สุเนต์ตา กรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า “ทีมที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุนส่วนบุคคลจาก Chief Investment Office (SCBS CIO Office) ได้ให้คำแนะนำในการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างเหมาะสมภายใต้สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา โดยพอร์ตการลงทุนประเภทความเสี่ยงปานกลางที่เราแนะนำ มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนทั้งกองทุนตราสารหนี้, กองทุนตราสารทุน และกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก ทำให้พอร์ตมีความยืดหยุ่นสูงเหมาะกับสภาวะตลาดที่มีความผันผวน ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นที่ผสมอยู่ในพอร์ตในปีที่ผ่านมาจะเป็นกองทุนตราสารทุน และกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น กองทุน SCBGOLD ที่เน้นลงทุนในทองคำ, กองทุน KFACHINA ที่เน้นลงทุนในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ (A Shares), กองทุน PRINCIPAL GOPP เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตทั่วโลก ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้ที่ผสมอยู่ในพอร์ตทำหน้าที่ลดความผันผวนของพอร์ตและสร้างความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตการลงทุน” “สำหรับพอร์ตการลงทุนในปี 2564 ทางไทยพาณิชย์แนะนำให้ลูกค้ามีการจัดพอร์ตการลงทุนที่เน้นกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยพอร์ตประเภทความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Asset Allocation) แนะนำแบ่งเป็นสัดส่วนหุ้นต่อตราสารหนี้ไว้ในสัดส่วน 60% ต่อ 40% ซึ่งเป็นไปตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะทยอยปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากการกระจายวัคซีน COVID-19 ให้แก่ประชากรทั่วโลก” ศรชัย กล่าวเสริม ดร.เมธินี กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในปี 2564 นี้ เอสซีบี ไพรเวทแบงก์กิ้ง ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง หนึ่งในธุรกิจหลักที่เป็นยุทธศาสตร์องค์กรที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนโดย เอสซีบี ไพรเวทแบงก์กิ้ง มีทีมที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลระดับมืออาชีพ ทั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ เพื่อพร้อมให้คำแนะนำด้านการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ (Personalized Investment Portfolios) สอดคล้องกับความต้องการและระดับความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้าแต่ละท่าน โดยลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่ปรึกษาการลงทุน (Relationship managers) ของท่าน” อ่านเพิ่มเติม: FETCO ชี้ ดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนไทยยังร้อนแรง

ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine