บลูบิคปิด 2 ดีลธุรกิจ ทุ่มงบกว่าพันล้านบาท ซื้อกิจการ Tech Company - Forbes Thailand

บลูบิคปิด 2 ดีลธุรกิจ ทุ่มงบกว่าพันล้านบาท ซื้อกิจการ Tech Company

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บูลบิค ประกาศเข้าซื้อกิจการ ทีมพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและแอปพลิเคชัน จาก MFEC และ Innoviz Solutions พร้อมปูทางสู่การเป็น Tech Company และ Venture Builder ระดับสากล


    พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า การเข้าซื้อหน่วยธุรกิจ Digital Delivery ของ MFEC เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการรองรับงานบริการให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี (Digital Excellence & Delivery หรือ DX) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สร้างรายได้ให้กับบลูบิค และยังเป็นการต่อยอดทางธุรกิจในอนาคตผ่านการ Synergy ร่วมกันกับทาง MFEC อีกด้วย

    รวมทั้งช่วยเรื่องการประหยัดต้นทุนในการบริหารงานจาก Economy of Scale ซึ่งหลังจากกระบวนการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น จะมีผลให้ทีมงานนักพัฒนาเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันของกลุ่มบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้นถึง 500 คน สามารถรองรับความต้องการในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

    “เราจะเป็นทีม DX ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหลังจากการเข้าซื้อกิจการของ MFEC กับ Innoviz” พชร กล่าว

    การตัดสินเข้าไปซื้อกิจการของทั้งสองแห่งเพราะเราเห็นถึงพลังยุคดิจิทัลทรานฯ เราเห็นโอกาส จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกับสองบริษัท การร่วมของทั้งสองทีมทำให้มีทีมงานให้กับลูกค้าขนาดใหญ่

    “โครงการทำงานจะมีการบริหารการจัดการที่เป็นอิสระ เป็นการหาความร่วมมือที่ทำให้ทั้งสองบริษัทเกิดการเติบโตและต้องบริหารจัดการร่วมกัน โดยภาพตรงนี้จะเป็นอิสระในการทำงาน”

    ด้าน ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอ MFEC กล่าวว่าการเข้ามาร่วมมือครั้งนี้เพราะการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไปการให้บริการที่เกี่ยวกับ Software ต้องให้บริการด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจซึ่งจะมีความสำคัญในการสร้างกำไรเพราะเราอยู่ในการสถานการณ์การแข่งขัน แต่บริษัทคนไทยไม่สามารถสเกลตัวเองไปสู่จุดนั้นได้ การร่วมมือกันระหว่างสองบริษัททำให้เราสามารถขยายขอบเขตการให้บริการ win win ระหว่างสองบริษัทและสามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติได้

    ด้านกระบวนการควบรวมกิจการของ Innoviz จะแบ่งการชำระค่าหุ้นออกเป็น  3 งวด งวดแรกจะเริ่มต้นในไตรมาส 1 ปี 2566 และจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2568 โดยบลูบิคจะเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดด้วยเงินสด

    “การขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบลูบิคนั้นเป็นไปตามแผนการลงทุนที่บริษัทฯ ได้วางไว้ เพื่อรองรับกระแสการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและความต้องการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สร้างข้อได้เปรียบในภาคธุรกิจที่ยังคงแรงต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกเหล่านี้ทำให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่ได้สะท้อนผ่านผลประกอบของบริษัทฯ ที่สามารถทำนิวไฮในหลายไตรมาสติดต่อกัน

    ดังนั้นการเข้าซื้อกิจการของทั้ง 2 บริษัท จะทำให้การเติบโตนับจากนี้ของ  บลูบิค โดยเฉพาะในปี 2566 เป็นไปอย่างน่าจับตามอง จากผลพวงของจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี เป็นการตอกย้ำความเป็น Tech Company ที่มุ่งเน้นการเป็น Venture Builder ระดับสากล” พชรและกล่าวเพิ่มเติมว่า

“โลกเปลี่ยนค่อนข้างเยอะกลุ่ม gen z ที่บอกว่าเป็นลูกค้าในอนาคต ตอนนี้พวกเขาเรียนจบ เริ่มทำงานและเป็นลูกค้าเพราะฉะนั้นการทำธุรกิจคือมุ่งไปบนถนนเส้นเดียวกันคือการเป็น digital first company”


อ่านเพิ่มเติม: ชูเฮย์ อาราอิ เอ็มดีใหม่ชาร์ปไทย รุกหนักสินค้าบิสิเนส โซลูชัน


​ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine