KUOK MENG WEI หลานชายนักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลชาวมาเลเซีย Robert Kuok กำลังเดิมพันธุรกิจด้วยเงิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ กับยุคเฟื่องฟูของศูนย์ข้อมูล (data center) ที่มี AI เป็นตัวขับเคลื่อน
รากเหง้าของ Kuok Group กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งโดย Robert Kuok เจ้าสัวชาวมาเลเซียผู้เป็นตำนานต้องย้อนเวลากลับไปในปี 1949 ที่รัฐ Jhor ของมาเลเซีย ที่ซึ่งเขาและพี่น้องได้เริ่มธุรกิจค้าขายสินค้าในชีวิตประจำวันอย่าง น้ำตาล ข้าว และแป้ง กว่า 75 ปีต่อมา รัฐ Johor ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ที่หลับใหลได้ผลประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ ได้พลิกโฉมกลายเป็นศูนย์กลางเทคที่กำลังเติบโต ณ ที่นั่น Kuok Group หวนคืนบ้านเกิดอีกครั้งพร้อมกับคว้าโอกาสกับธุรกิจที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ ศูนย์ข้อมูล
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา K2 Strategic หน่วยธุรกิจในฐานะบริษัทเอกชนของกลุ่ม ซึ่งนำโดยหลานชายวัย 41 ปี Kuok Meng Wei ได้เปิดศูนย์ข้อมูลขนาด 60 เมกะวัตต์ (ขนาดความจุที่วัดจากจากการใช้ไฟฟ้า) ณ Sedenak Tech Park ซึ่งมีพื้นที่ 700 เอเคอร์ โดยที่แห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านดิจิทัลกว่า 10 แห่งที่กำลังผุดขึ้นทั่วรัฐ Johor ที่ตั้งอยู่ห่างออกไป 30 กิโลเมตร จากถนนข้ามน้ำที่มีอายุร้อยปีเชื่อมต่อกันระหว่างสิงคโปร์และ Johor Bahru เมืองหลวงของรัฐ พร้อมดึงดูดผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดบางรายจากอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลทั่วโลกมาอยู่ที่นี่
"ศูนย์ข้อมูลเป็นอุตสาหกรรมที่ร้อนแรงที่สุดที่เราเคยได้เห็นมาในหลายศตวรรษ์" Meng Wei กล่าว "การใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากกำลังขับเคลื่อนความต้องการศูนย์ข้อมูลให้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด"
ตามข้อมูลของ Knight Frank ที่ปรึกษาด้านอสังหา-ริมทรัพย์จาก London ระบุว่า ในปัจจุบันรัฐ Johor บริษัท K2 Strategic ถือเป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 รองจาก Bridge Data Center ของ Bain Capital ที่มีขนาด 126 เมกะวัตต์ และ DayOne (บริษัทในเครือ GDS จากจีน) ที่มีขนาด 115 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีผู้เล่นรายอื่นๆ ซึ่งรวมถึง Princeton Digital Group ที่มีWarburg Pincus หนุนหลัง และ YTL Corp ของ Francis Yeoh เจ้าสัวชาวมาเลเซียที่เป็นพันธมิตรกับ NVIDIA
ผู้พัฒนาชิป AI อย่างไรก็ตาม Meng Wei ไม่สะดวกที่จะเปิดเผยรายชื่อลูกค้าของ K2 แต่กล่าวว่า "เรามีผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2 ราย และบริษัทโซเชียล มีเดียที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอยู่ในรายชื่อลูกค้าของเรา"กรรมการผู้จัดการและซีอีโอของ K2 กล่าวว่า ความเฟื่องฟูของธุรกิจศูนย์ข้อมูลคล้ายกับ "คลื่นขนาดยักษ์" ที่ครั้งหนึ่ง Kuok Group ได้เข้าไปเกาะกระแสหลังจากที่ประธานาธิบดี Deng Xiaoping เปิดประเทศจีนในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งได้ปลดล็อกการควบคุมความต้องการของสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น น้ำมันพืชและสินค้าเกษตรอื่นๆ
Meng Wei มั่นใจว่า การเกาะกระแสคลื่นลูกใหม่นี้จะได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน ดังนั้น เขาจึงให้ความสำคัญกับแผนการทุ่มเงินก้อนโต 9 พันล้านเหรียญในช่วง 5 ปีข้างหน้าจากที่เคยใช้เงินลงทุนระดับสูงสุดไปแล้ว 1 พันล้านเหรียญในก่อนหน้านี้ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่ใช้สำหรับสร้างกำลังให้บริการ (capacity) ของศูนย์ข้อมูลในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย
จากข้อมูลของ Knight Frank ระบุว่า ประเทศเหล่านี้ถือเป็นศูนย์กลางของศูนย์ข้อมูลที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้อานิสงส์จากการเลื่อน ก่อสร้างศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ในปี 2019 เนื่องจากมีข้อจำกัด ด้านพื้นที่และการจัดหาพลังงานไฟฟ้า ต่อมาคำสั่งนี้ได้ถูกยกเลิกไปในปี 2022 แต่ด้วยข้อบังคับที่เข้มงวดมากยิงขึ้นของสิงคโปร์ทำให้สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ไปเติบโตอย่างต่อเนื่องในมาเลเซียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้แทน
เม็ดเงินจำนวนมหาศาลได้หลั่งไหลเข้าสู่ความเพื่องฟูของธุรกิจศูนย์ข้อมูลในภูมิภาค ไม่ว่า Amazon, Google, Microsoft หรือ Oracle กำลังเร่งขยายฐานธุรกิจดิจิทัลอย่างเร็วทั่วภูมิภาคอาเซียน ด้วยแผนการลงทุนรวมกันมากกว่า 4.4 หมื่นล้านเหรียญในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยมีมากกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือราว 2.3 หมื่นล้านเหรียญพุ่งเป้าไปที่มาเลเซีย
แม้จะมีจำนวนศูนย์ข้อมูลผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ยังคงเชื่อมั่นว่า ความต้องการของสิ่งนี้ยัง ยั่งยืน "อุตสาหกรรมนี้ยังไม่สร้างกำลังให้บริการเกินความ ต้องการ" Otto Toto Sugiri ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ DCI Indonesia ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Jakarta และเป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียกล่าว (ณ สินปี 2024 DCI ให้บริการศูนย์ข้อมูล 7 แห่ง มีกำลังให้บริการรวมกัน 83 เมกะวัตต์)

Meng Wei กำลังขยายงานอย่างรวดเร็ว เป้าหมายของเขาคือ การเพิ่มกำลังให้บริการของ K2 อีก 10 เท่า จาก 120เมกะวัตต์ในปัจจุบันเป็น 1.200 เมกะวัตต์ในปี 2030 และเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเขาได้เสาะหาพื้นที่แห่งใหม่ซึ่ง ตั้งอยู่นอกพื้นที่ของ Sedenak ซึ่งเขาคาดว่าจะเข้าครอบ-ครองพื้นที่ทั้งหมดได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันยังได้ขยายงานในอินโดนีเซีย โดย K2 Strategic ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Sinar Mas Land ตระกูลเศรษฐีพันล้าน Widjaja โดยพวกเขาได้เข้าซื้อพื้นที่ 2 แห่งในเมือง Bekasi ทางตะวันออกของ Jakarta ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 40 เอเคอร์ ซึ่งพวกเขาวางแผนที่จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดกว่า 1,000 เมกะวัตต์
ตัว K ใน K2 Strategic ไม่ได้มาจากชื่อของ Kuok แต่มาจากชื่อของภูเขาที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกที่มีความสูงชันและยากที่จะปืนขึ้นไปกว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์ โดยจุดสูงสุดของภูเขาแห่งนี้อยู่ที่ 8.600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็น จุดที่ "ก้อนเมฆสัมผัสกับพื้นดิน" Meng Wei กล่าว เช่นเดียว กับรายได้ของ K2 Strategic ที่ไต่ระดับใกล้แตะ 100 ล้านเหรียญในปี 2024 เพิ่มจาก 3 ล้านเหรียญในปี 2018 เมื่อบริษัทเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งแรกที่ไอร์แลนด์ นานโขก่อนที่เอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้จะกลายเป็นจุดสนใจของศูนย์ข้อมูลใน ปัจจุบัน (บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่เปิดเผยตัวเลขทางการเงินอื่นๆ)
Meng Wei เริ่มต้นอาชีพด้านธุรกิจการเกษตรซึ่งเป็นกิจการหลักของ Kuok Group เมื่อเขาเรียนจบปริญญาด้านวิศวกรรมอุตสาหการจาก Stanford University ในปี 2007เขาทำงานกับ Wilmar International บริษัทน้ำมันปาล์ม ยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ร่วมก่อตั้งโดย Kuok Khoon Hong หลานของ Robert Kuok (ยังเป็นเศรษฐีล้านที่มีทรัพย์สินสุทธิ 2.8 พันล้านเหรียญ)
ต่อมา Meng Wei นั่งในตำแหน่งกรรมการบริหารในบริษัทลูกของ Wilmar เขาใช้ชีวิตเดินทางไปมาระหว่างสิงคโปร์และเมียนมา ประเทศที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าโภคภัณฑ์แห่งนี้ได้ลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญภายใต้พอร์ตสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งรวมไปด้วยโรงกลั่นน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศโดยวัดจากปริมาณการผลิต และการบริหารท่าเรือใน Thilawa ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษใกล้เมือง Yangon
ในปี 2016 Meng Wei ได้รับมอบหมายให้ตั้งสำนักงานโครงการพิเศษของ Kuok Group เพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เขาเสนอแนะให้บริษัทลงทุนในโครงสร้างพืนฐานที่สำคัญๆ ที่ต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาในระยะยาวแต่เป็น ธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างคงที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากธรรมชาติของวัฏจักรธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์และการขนส่ง ที่เป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม
ในปีเดียวกันหลังจากเสนอโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าในเมียนมาไม่ประสบความสำเร็จ Meng Wei ก็ได้ลองเสี่ยงกับโอกาสครั้งใหม่ โดยเขาได้เปลี่ยนคลังสินค้าใน Dublin ให้เป็นศูนย์ข้อมูล "ถือเป็นยุคต้นๆ เอามาก ๆ ของการพัฒนา ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ และมีธนาคารไม่กี่แห่งที่จะเข้าใจและอนุมัติให้เงินทุนกับสินทรัพย์กลุ่มนี้" Meng Wei หวนคิดถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ทั้งนี้เขาได้เสนอแผนลงทุนต่อครอบครัวของเขาด้วยคำพูดจูงใจด้วยเหตุผลน่าฟังว่า "ศูนย์ข้อมูลจะให้ผลตอบแทนที่แข็งแกร่งทั้งในช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี เกือบเหมือนกับพันธบัตร" เขากล่าว
K2 Strategic ทุ่มเงินกว่า 150 ล้านยูโร (153 ล้านเหรียญ) เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาด 18 เมกะวัตต์ใน Dublin และโครงการนี้เสร็จลุล่วงในปี 2018 "แนวคิดนี้ใหม่มาก มากเสียจนใช้เวลานานที่สุดแล้วทำให้แม่ยายของผมคิดว่า ผมกำลังจะตั้งคอลเซ็นเตอร์" Meng Wei เล่าถึงวันวาน
ปัจจุบัน K2 Strategic เป็นหนึ่งผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ที่สุดใน Dublin มีกำลังให้บริการ 60 เมกะวัตต์ผ่าน 4 แห่ง โดย มีบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากสหรัฐฯ เป็นผู้เช่าการบุกเบิกธุรกิจศูนย์ข้อมูลไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับ Kuok Group แต่อย่างใด เพราะหัวหน้าครอบครัวผู้ก่อตั้ง Robert Kuok ได้กำหนดระยะเวลาในการขยายงานของกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจเทคอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหลังเข้าลงทุนใน Epsilon Telecommunications ในปี 2003
ทั้งนี้ในแบบฉบับยุคต้นๆของโมเดลศูนย์ข้อมูล Epsilon มีหน้าที่จัดการด้านการเชื่อมต่อและสถานที่ที่ใช้ร่วมกันในแต่ละแห่งเพื่อเป็น ที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ให้กับลูกค้าต่างๆ อย่างเช่นธนาคาร ท้ายสุด Epsilon ได้ถูกขายไปให้กับ Korea Telecom ใน ปี 2021 ด้วยราคา 145 ล้านเหรียญ โดย Meng Wei ได้นังเป็นผู้อำนวยการของบริษัทอยู่ช่วงเวลาหนึ่งตังแต่ปี 2016และการขายนี้ได้ช่วยทำให้ตัวเขาเข้าใจธุรกิจนี้ดียิ่งขึ้นนอกจากนี้ Epsilon ยังได้หยิบยื่นความเชี่ยวชาญในธุรกิจ ศูนย์ข้อมูลให้กับ K2 ตั้งแต่ปีแรกที่บริษัทเปิดดำเนินการแล้วเวลาที่ใช่ของ Weng Wei ก็เข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัวเมื่อกำลังให้บริการของศูนย์ข้อมูลในเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มขึ้น 80% เป็น 18 กิกะวัตต์ในปี 2024 จาก 10 กิกะวัตต์
ในปี 2020 ช่วงที่มีการระบาดสูงสุดของโควิด-19 และมีแนวโน้มที่จะแตะระดับ 35 กิกะวัตต์ (คิดเป็น 35% จากทั่วโลก) ภายใน ปี 2029 จากข้อมูลของ JLL จาก Chicago ที่ได้ระบุไว้"การลงทุนในศูนย์ข้อมูลได้รับอิทธิพลจากความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างทวี่คูณตามการปฏิสัมพันธ์ไปมาในหลาก-หลายระดับของคนทั่วโลกได้ส่งผลถึงการประมวลผลของคอมพิวเตอร์และการจัดเก็บข้อมูล ท่ามกลางชัพพลายมีจำกัด เพราะการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าและผลตอบแทนทางการเงินที่น่าดึงดูด" Glen Duncan หัวหน้าฝ่ายวิจัย ธุรกิจศูนย์ข้อมูลเอเชีย-แปซีฟัก JLL สิงคโปร์กล่าวผ่านอีเมล ทั้งนี้เพื่อให้ทันกับความต้องการที่พุ่งทะยานขึ้น Meng Wei ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านวิศวกรรมทางทะเลของ Kuok Group มาสร้างศูนย์ข้อมูลให้เร็วขึ้น
ในปี 2023 กลุ่มบริษัทได้ซื้อกิจการ MCPEC ของสิงคโปร์ ผู้พัฒนาระบบโครงสร้างโรงแยกก๊าซและน้ำมันนอกชายฝั่ง และเริ่ม พัฒนาต้นแบบโครงสร้างโรงงานแยกส่วนลักษณะเดียวกับเลโก้ คล้ายกับโครงสร้างที่ติดตั้งใน Sedenak ซึ่งใช้เวลา ก่อสร้างไม่ถึงปี เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเร่งความเร็วในการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล และสามารถเปิดดำเนินการได้เร็วกว่าปกติที่ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี Meng Wei กล่าว "องค์ประกอบด้านความเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมาก" Fred Fitzalan Howard รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูล Knight Frank สิงคโปร์ยืนยันว่า "ยิ่งศูนย์ข้อมูลสามารถส่งกำลังให้บริการได้เร็วมากขึ้นเท่าไร มันก็ส่งผลดีมากขึ้นเท่านั้น"
ตามข้อมูลของ Intemational Energy Agency ระบุว่า ศูนย์ข้อมูลใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นราว 1% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก ขณะที่ฝ่ายวิจัยของ Goldman Sachs คาดการณ์ว่า การใช้ไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลจะเพิ่ม 3-4% ใน สิ้นทศวรรษนี้ (ในไอร์แลนด์ศูนย์ข้อมูลใช้ไฟฟ้า 20% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด) เมื่อการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลดำเนินไปอย่างรวดเร็วปัญหาที่ตามมาก็คือ ความตึงเครียด กับเครือข่ายไฟฟ้าในท้องถิ่น ดังที่เกิดขึ้นในมาเลเซียเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2024 พื้นที่บางส่วนของหุบเขา Kang นอกเมือง Kuala Lumpur ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ หลังจาก ที่ก่อนหน้า 7 เดือนจุดตรวจคนเข้าเมืองชายแดนสิงคโปร์ทนทุกข์กับไฟฟ้าดับนานนับ 10 ชั่วโมงมาแล้ว
Meng Wei ตระหนักดีว่า ธรรมชาติของธุรกิจศูนย์ข้อมูลใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาล Kuok Group จึงมีแผนจะเปลี่ยน พื้นที่ราว 1.000 เอเคอร์ของผืนที่ดินที่ใช้เพาะปลูกในมาเลเซียให้กลายเป็นโซลาร์ฟาร์มและโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆเป็นไปได้ว่าจะสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขนาด 100 เมกะวัตต์ โดยใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของผืนที่ดินที่มีอยู่ "สำหรับผมแล้วจุดยืนด้านความความยั่งยืนนั้นมันแข็งแรงเอามากๆ" Meng Wei กล่าว "ผมอยากมองย้อนกลับไปและบอกกับลูก ๆ ถึงสิ่งที่ผมทำนั้นช่วยทำให้โลกใบนี้เป็นสถานที่ที่ดีกว่าเดิม"
ด้วยการรายงานจาก Ardian Wibisono ใน Jakarta KUOK MENG WEI เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลผู้ประกอบการที่สร้าง ธุรกิจใหญ่โตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ปู่ของเขาคือ Robert Kuok ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการธุรกิจที่ฉลองวันเกิดอายุ 101 ปี ไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เขาเริ่มสร้างตัวจากการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วขยาย กิจการสู่โลจิสติกส์และโรงแรม รวมทั้งธุรกิจชิปปิ้งและต่อเรือด้วย
เมื่อปี 1997 Robert ขึ้นปก Forbes โดยได้รับการยกย่องให้เป็น "นักธุรกิจ ผู้หลักแหลมที่สุดในโลก" ทรัพย์สินมหาศาลที่เขาสร้างมาทำให้เขาเป็นบุคคล ผู้มั่งคั่งที่สุดในมาเลเซียและครองตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งน้ำตาลของเอเชียแล้ว เขายังเป็นผู้ก่อตั้งเครือโรงแรมหรู Shangri-La ด้วย ทุกวันนีบริษัท Kuok Group มีโรงแรมและรีสอร์ตกว่า 100 แห่งในเมือง ท่องเที่ยวเกือบ 80 เมือง โดยอยู่ภายใต้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ลูกๆ ของผู้นำตระกูลเข้ามารับช่วงกิจการหลักต่างๆ ในสิงคโปร์และฮ่องกง ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของ Robert มานานแล้ว

ลูกชายคนโต Kuok Khoon Chen หรือ รู้จักกันในชื่อ Beau เป็นประธานกรรมการของ Kuok Group ลูกชายคนรองชื่อ Khoon Ean พ่อของ Meng Wei เป็นประธานกรรมการของ Kuok Singapore บริษัทที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์หลายอย่างในนครรัฐแห่งนี้ ซึ่งเป็นฐานธุรกิจ ชิปปิ้ง โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และวิศวกรรมการเดินเรือของเครือนี้ด้วย ลูกชายคนเล็กของ Robert คือ Kuok Khoon Hua เป็นประธานกรรมการและซีอีโอของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง Kerry Properties ที่เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานในทำเลสำคัญของฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนลูกสาว Kuok Hui Kwong เป็นประธานกรรมการของ Shangri-La Group สำหรับรุ่นที่ 3 นัน Meng Xiong หรือ MX พีชายของ Meng Wei เป็นผู้บริหาร K3 Ventures บริษัทไพรเวทอิควิตีของตระกูล ซึ่งลงทุนในสตาร์ทอัพกว่า 50 แห่ง ซึ่งรวมถึง ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok และ Grab บริษัทให้บริการเรียกรถและส่งอาหาร
Meng Wei กล่าวว่า อายุไม่ได้ทำให้ความหลงใหลในการทำธุรกิจของปู่ลดลงเลย "ท่านยังมีพลังเหลือเฟื้อและทันเหตุการณ์เสมอ" หลังจาก Robert ได้อ่าน ข่าวเรื่องบริษัทระดับโลกวางแผนจะตั้งศูนย์ข้อมูลในมาเลเซียเขาก็ยังส่งข้อความมาถามหลานว่า "เกิดอะไรขึ้น? เล่าให้ฟังซิ" - J.B.
เรื่อง: JONATHAN BURGO เรียบเรียง: เบ็ญจวรรณ รัตนวิจิตร
ภาพ: MUNSTER CHEONG
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 'Francis Pedraza' คนชอบควบคุม