แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย มุ่งสร้างสุขภาพดีอย่างยั่งยืนให้ ประชาชน-ชุมชน-โลก ภายใต้แคมเปญ "Making Health Happen" - Forbes Thailand

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย มุ่งสร้างสุขภาพดีอย่างยั่งยืนให้ ประชาชน-ชุมชน-โลก ภายใต้แคมเปญ "Making Health Happen"

แอสตร้าเซนเนก้า บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก กับเป้าหมายในการดูแลสุขภาพประชาชน ชุมชนและโลก ด้วยการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ดูแลสุขภาพคนไทย พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ หวังยกระดับประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้นและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนภายใต้แคมเปญ "Making Health Happen"

เจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ตั้งแต่การตระหนักรู้ถึงอาการของโรคต่างๆ การวินิจฉัยล่วงหน้า และการสนับสนุนการเข้าถึงยาและการคิดค้นนวัตกรรมยาและโซลูชันต่างๆ ควบคู่กับการสร้างความมั่นใจว่า บริษัทมีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงเปิดตัวแคมเปญ Making Health Happen ซึ่งเป็นการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาดูแลสุขภาพของคนไทยอย่างยั่งยืน

​"เรากำลังเปลี่ยนแปลงอนาคตของการดูแลสุขภาพด้วยการปลดล็อกพลังของวิทยาศาสตร์ ด้วยการวิจัยและพัฒนาและการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อเป้าหมายในการป้องกันและรักษาโรคให้เร็วที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะส่งผลในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้คนและเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น”

​เจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด

Making Health Happen ประกอบด้วยการดูแลสุขภาพของ 3 สิ่ง คือ PEOPLE หรือ ประชาชน SOCIETY หรือ ชุมชน และ PLANET หรือโลก

สำหรับ PEOPLE บริษัทมุ่งเน้นการค้นคว้าและคิดค้นนวัตกรรมยา และโซลูชันต่างๆ ที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วยพร้อมกับส่งเสริมการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเบาหวาน เป็นต้น​

​ด้าน SOCIETY บริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการยกระดับระบบสาธารณสุขให้มีความยืดหยุ่นและเข้าถึงได้มากขึ้น และสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้นและการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อพัฒนาและขยายโซลูชันด้านสุขภาพในวงกว้างจนก่อให้เกิดสังคมที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยวางเป้าหมายให้ระบบสาธารณสุขสามารถดูแลสุขภาพคนไทยทุกคนในสังคมได้อย่างทั่วถึง เพื่อนำมาซึ่งสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทยได้ดำเนินหลากหลายโครงการร่วมกับพันธมิตร อาทิ

โครงการ “ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด” ที่นำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น

โครงการ SEARCH ในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยการตรวจหาระดับอัลบูมินในปัสสาวะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพการบริการการป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไตและยืดระยะเวลาการบำบัดทดแทนไต

โครงการสนับสนุนการเข้าถึงยา (Patient Affordability Programme) หรือรู้จักกันในนาม AZ PAP ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มการเข้าถึงยานวัตกรรมหลายรายการให้กับผู้ป่วยในประเทศไทย

​สำหรับ PLANET บริษัทได้ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ (Ambition Zero Carbon) ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตลงให้ได้ 98% ภายในปี 2569

“ความยั่งยืนเป็นเรื่องพื้นฐานไม่เพียงแต่เพื่อสุขภาพของโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภาพของสังคมและประชาชนอีกด้วย ความท้าทายไม่ใช่แค่อุณหภูมิโลกและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแต่ยังมีอัตราการเกิดโรคเรื้อรังและความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับบริการทางสุขภาพ เราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเปิดทางให้เราค้นพบทางออกและแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้น เรากำลังพิจารณาทุกส่วนของธุรกิจในองค์กรเพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนี้อยู่ใน DNA ของเราฝังอยู่ในทุกสิ่งที่เราทำ” คุณ เจมส์ กล่าว

​สำหรับแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 40 ปี โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการรักษาพยาบาล พร้อมขยายการเข้าถึงนวัตกรรม โดยเน้นการคิดค้น พัฒนาและจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรคใน 4 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ไต และเมแทบอลิซึม (CardioVascular, Renal, and Metabolic หรือ CVRM) กลุ่มโรคมะเร็ง (Oncology) กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน และภูมิคุ้มกันบำบัด (Respiratory, Immunology, Vaccines and Immune Therapies หรือ RIVIT) ซึ่งครอบคลุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) และกลุ่มโรคหายาก (Rare Diseases) ซึ่งหากไม่นับรวมวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์ของ AstraZeneca มากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปีเลยทีเดียว

​“ในขณะที่โรคภัยไข้เจ็บสร้างภาระให้กับมวลมนุษยชาติมากขึ้นและประชากรโลกก็มีอายุมากขึ้น แต่ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนก็ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างดีและครอบคลุมเท่าที่ควร เราเชื่อว่า นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยไขคำตอบ โดยเป้าหมายของเราคือ การสร้างช่องทางในการการเข้าถึงยาที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตและเปลี่ยนผลลัพธ์ของผู้ป่วยให้ไปเป็นตามเป้าหมาย ซึ่งเรายังคงมุ่งมั่นที่จะนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาดูแลสุขภาพของประชาชน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ข้างหลัง” คุณเจมส์ กล่าวปิดท้าย